– การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ภายใน

  1. อุปกรณ์ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ภายนอก
  2. อุปกรณ์ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องมือสำหรับการประกอบ
  3. ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
  4. Video ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

การทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากประกอบเครื่องเสร็จ

  -อุปกรณ์ภายในประกอบด้วย

          CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และควบคุมการทำงานในคอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับ ” สมองของคอมพิวเตอร์ “

55

          Mainboard หรือ Motherboard หรือ แผงวงจรหลัก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ถือว่าเป็นศูนย์กลางของคอมพิวเตอร์

20

          RAM หรือ หน่วยความจำ ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ใช้สำหรับเก็บข้อมูล ที่จะนำไปประมวลผล

21

          Harddisk ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ

23

        VGA Card หรือ Graphic Card หรือ การ์ดแสดงผล ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลที่จะแสดงบนหน้าจอ เชื่อม  ต่อกับ จอภาพหรือ Monitor

24

       Sound Card หรือ การ์ดเสียง ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลที่จะแสดงออกมาในรูปแบบของเสียงผ่านทาง  ลำโพง

25

        Modem ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ โดยมากจะใช้เชื่อมตอระบบอินเตอร์เน็ต

26

LAN Card ใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกัน ผ่านทางเครือข่ายท้องถิ่น (LAN )

        – อุปกรณ์ภายนอกประกอบด้วย


      Monitor หรือ จอภาพ ใช้แสดงผลการทำงานต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบ เช่น แบบ CRT ซึ่งเป็นแบบที่ใช้หลอดภาพ หรือจะเป็นแบบ LCD ซึ่งมีหน้าจอแบบราบ ขนาดจอบางน้ำหนักเบา ทันสมัย

Keyboard หรือ แป้นพิมพ์ ใช้สำหรับป้อนขัอมูลหรือคำสั่งต่างๆ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

Mouse หรือ เม้าส์ ใช้สำหรับควบคุม cursor บนหน้าจอเพื่อจัดการคำสั่งการทำงานต่างๆ บนหน้าจอ

 

Speaker หรือ ลำโพง ใช้สำหรับแสดงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของเสียง เช่น เสียงเพลง เป็นต้น

Case โดยทั่วไปจะมี Power Supply อยู่ภายในด้วย ทำหน้าที่ บรรจุอุปกรณ์ต่างๆ และจ่ายพลังงานให้กับระบบ

Floppy Disk Drive ทำหน้าที่ในการอ่านและเขียนข้อมูลลงแผ่นดิสเกตต์

Optical Drive มีหลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดก็มีความสามารถแตกต่างกันไป

          – เครื่องมือสำหรับการประกอบไขควงแฉกยาว

ไขควงปากแบน

ไขควงบล๊อกหกเหลี่ยม

คีมปากยาว

        – ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

              การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปซึ่งเราสามารถหัดประกอบด้วยตนเองได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1.    ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้ง
  1. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้นนำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรงกัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของซีพียู

  1. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือน
    เดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้
    หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสีย
  1.   ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อย
    ในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบ
    สนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขา
    สปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริง
    ให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ด
    อาจเสียหายได้
  1. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด
  1.     นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้นจึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้านอาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)


  1. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับ
  1. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึด
    เมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว

  1. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

  1. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

  1. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด
  1.   สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น

 

  1. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไป
  1. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ดโดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย

 

  1. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น

 

 

 

  1. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย
  1. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย
  1. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น
  2. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์


ภาพที่ 2.3.6.5 เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์

  1. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม) ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดงของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน


  1. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สายสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย


  1. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ดควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์
    จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่

  1. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความเสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบการติดตั้ง
    ทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบแน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมสทั้งล็อกติดกันอย่างแน่นหนา

 

  1. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการประกอบเครื่องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบแล้ว

การทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์

หลังจากประกอบเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้วต่อไปจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่า เครื่องที่ประกอบนั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่ทั้งยังเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ของการประกอบเครื่องด้วย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. การเปิดเครื่องเพื่อตรวจสอบระบบ ถ้าระบบผิดปกติจะสามารถทำงานได้คือ ที่จอภาพจะแสดงการทำงานของเครื่อง ถ้ามีอาการอื่นๆ เช่นมีเสียงดังปิ๊ปๆๆแสดงว่าเกิดจากการไม่ติดตั้งแรม (RAM) หากมีตารางเกิดขึ้นให้ตรวจสอบระบบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เช่นการเสียบการ์ดอาจจะหลวมหรือเสียบสายต่างๆผิดก็ได้ ถ้าเกิดการผิดพลาดจาก ฮาร์ดดิสก์ดิสก์ไดร์ฟ คีย์บอร์ดเมาส์จะมีข้อความแสดงข้อผิดพลาดที่จอภาพ ให้ดำเนินการแก้ไขจนไม่แสดงข้อผิดพลาดใดๆ
  1. เมื่อตรวจสอบระบบเบื้องต้นผ่านแล้วต่อไปเป็นขั้นตอนที่จะต้องทำการ Setup BIOSเพื่อให้รู้จักฮาร์ดดิสก์โดยใช้ Menu Auto Detectเป็นการให้เครื่องค้นหาฮาร์ดดิสก์แล้ว มากำหนดให้รู้จักดิสก์ไดร์ฟ และให้ทำการบันทึก BIOS
  2. ต่อไปก็เป็นการดำเนินการกับฮาร์ดดิสก์ถ้าหากยังไม่ได้จัดพาร์ติชั่น ฟอร์แมตก็ให้ดำเนินการและติดตั้งระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ตามต้องการ